เมนู

9. เวทนาสูตร


เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา


[84] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
3 ประการเป็นไฉน คือ สุขเวทนา 1 ทุกขเวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1
เวทนา 3 ประการนี้แล.
[85] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 บุคคล
พึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3 ประการนี้ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8
เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3 ประการนี้แล.
จบเวทนาสูตรที่ 9

10. อุตติยสูตร


เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ 5


[86] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ
ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ 5 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
แล้ว กามคุณ 5 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ.

[87] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อุตติยะ กามคุณ 5 เหล่านี้
เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ 5 เป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู . . . กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก . . . รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . .
โผฏฐัพพะที่พึ่งรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก
ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุตติยะ กามคุณ 5 เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
[88] ดูก่อนอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 บุคคล
พึงเจริญ เพื่อละกามคุณ 5 เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8
เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 บุคคลพึงเจริญเพื่อละกามคุณ 5 เหล่านี้แล.
จบอุตติยสูตรที่ 10
จบมิจฉัตตวรรคที่ 3

มิจฉัตตวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถามิจฉัตตสูตรเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ 1 แห่งมิจฉัตตวรรคที่ 3.
บทว่า มิจฺฉตฺตํ แปลว่า มีความผิดสภาวะ. บทว่า สมฺมตฺติ
แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ. บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตฺาธิกรณเหตุ แปลว่า
เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด. อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด. บทว่า
นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม. บทว่า ญายํ ธมฺมํ ได้แก่ อริยมรรคธรรม.